วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข้าวเหนียว

ข้าวเหนียว (อังกฤษ: Glutinous rice; ชื่อวิทยาศาสตร์: Oryza sativa var. glutinosa) เป็นข้าวที่มีลักษณะเด่นคือการติดกันเหมือนกาวของเมล็ดข้าวที่สุกแล้ว ปลูกมากทางภาคอีสานของประเทศไทยและ ประเทศลาว

ข้าวเหนียวเป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวางในประเทศ และเป็นอาหารหลักของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ นอกจากการบริโภคโดยตรงแล้วยังมีการนำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราพื้นเมือง การผลิตแป้งข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยว

ข้าวเหนียวมี 2 สี คือ สีขาวและสีดำ(คนเหนือเรียกว่า"ข้าวก่ำ") แต่ข้าวเหนียวดำจะมีสารอาหาร ที่เป็นประโยชน์มากกว่าข้าวเหนียวขาว สารอาหารที่ว่า คือ “โอพีซี"(OPC)มีสรรพคุณช่วยชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อม ถอยของร่างกาย โดยสารโอพีซีที่พบในข้าวเหนียวดำ เป็นสารชนิดเดียวกับสารสกัดที่ได้ จากองุ่นดำองุ่นแดง เปลือกสน

เนื้อหา
1 การค้นพบ
2 พันธุ์และลักษณะเด่น
3 สรรพคุณ
4 สารสำคัญ
5 วิธีนึ่ง
6 อ้างอิง
7 แหล่งข้อมูลอื่น

อาจารย์ สุรัตน์ จงดา สันนิฐานว่า ข้าวยุคแรกที่มนุษย์กิน คือพันธุ์ข้าวเหนียว หลักฐานที่เราค้นพบ เมล็ดข้าวหรือข้าวเปลือก ที่ถ้ำปงคง จ. แม่ฮ่องสอน 5500 ปี และที่บ้านเชียง การค้นพบเมล็ดข้าวที่บ้านเชียง 3000-4000 ปี เป็นข้าวเมล็ดปล้อง สันนิฐานว่าอยู่ในตระกูลข้าวเหนียว

พันธุ์และลักษณะเด่น

พันธุ์สันป่าตอง 1 ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้งดี ให้ผลผลิตสูง สามารถปลูกได้ทั้งปี
พันธุ์สกลนคร เป็นข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง ปรับตัวได้หลายสภาพ นาดอน นาชลประทาน และสภาพไร่นา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พันธุ์หางยี 71 ทนแล้งปลูกเป็นข้าวไร่ได้ อายุเบา ต้านทานโรคไหม้และโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรค ขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว
พันธุ์กข 2 ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียวปานกลาง ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว
พันธุ์กข 4 ปลูกได้ทุกฤดูกาล ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล แมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว ไม่ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง
พันธุ์กข 6 ทนแล้ง ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว
พันธุ์กข 8 ทนแล้ง ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว
สรรพคุณ

เป็นอาหารร่าเริง ทำให้สมองสงบ คลายเครียด กินแล้วจะรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้อิ่มท้องนาน
เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของกระเพาะอาหาร
ชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อม ถอยของร่างกาย[ต้องการอ้างอิง]
ช่วยขับลมในร่างกาย[ต้องการอ้างอิง]
สร้างเม็ดเลือด ทำให้เม็ดเลือดสมบูรณ์ [ต้องการอ้างอิง]
ป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ [ต้องการอ้างอิง]
ป้องกันปัญหาวุ้นนัยน์ตาเสื่อม[ต้องการอ้างอิง]
สารสำคัญ
ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก และวิตามินอี

วิธีนึ่ง
นำข้าวสารเหนียวมาแช่น้ำ (แถวบ้านเรียกว่า หม่าข้าว) เพื่อให้ข้าวอิ่มน้ำใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมงมิเช่นนั้นหากข้าวไม่อิ่มน้ำเวลานึ่งข้าวจะไม่สุก หากเป็นข้าวสารใหม่จะใช้เวลาแช่น้ำ น้อยกว่า
จากนั้นนำมาซาวเอาแต่ข้าว เทน้ำซาวข้าว (น้ำข้าวหม่า) เก็บไว้ใช้ล้างจาน หรือสระผม นำข้าวสารใส่ในหวด ที่วางบนหม้อนึ่ง แล้วนำขึ้นตั้งไฟแรง ปิดฝารอจนไอน้ำผ่านข้าวเหนียวจนเกือบสุก เปิดฝาหม้อแล้วใช้ไม้พายพลิกข้าวส่วนที่ยังไม่สุกกลับลงไปด้านล่างแทนส่วน ที่สุกแล้ว
จากนั้นนำข้าวลงมาเทบนโบม (ภาชนะสำหรับพักและคนข้าวให้ไอน้ำระเหยออกไปเพื่อให้ข้าวเย็นและไม่เปียก ชื้นจากไอน้ำ เพื่อเก็บไว้รับประทานทั้งวันได้ในก่องข้าว หรือกระติ๊บข้าว) นำไม้พายเกลี่ยข้าว พลิกไปมาให้ไอน้ำที่ร้อนระเหยออกไปให้ทั่วถึง พอได้ที่ก็ม้วนข้าวเก็บเอาไว้ในกระติ๊บข้าวเหนียว