วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข้าวเหนียว ข้าวคู่ครัวคนไทย

ข้าวเหนียว เป็นธัญพืชที่รองลงมาจากข้าวที่คนเรานิยมรับประทานกัน เพราะให้ความเหนียว ความมัน มีรสชาติที่น่ารับประทาน ความเชื่อของคนโบราณเชื่อว่า ข้าวเหนียวเป็นสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้ ซึ่งมีทั้งข้าวใหม่และข้าว ข้าวใหม่มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ร้อน นิยมปลูกในนาลุ่มที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์หรืออาจจะปลูกในที่ดอนก็ได้ที่เรียกว่าข้าวไร่ทางภาคเหนือ

พันธุ์ของข้าวเหนียวมีอยู่ด้วยกันหลายสายพันธุ์ แต่ที่คนส่วนใหญ่เห็นจะมีอยู่สองสี คือ ข้าวเหนียวที่มีสีขาวและข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียวที่เก็บเกี่ยวเร็วเม็ดจะแข็งกว่าข้าวเหนียวที่เก็บเกี่ยวช้า แต่คนโบราณจะนิยมนำข้าวเหนียวที่เก็บได้ใหม่หลังจากที่สีแล้วไปฝากกัน ซึ่งทำให้ผู้รับรู้สึกว่าเหมือนกับตัวเองได้ทำนาเองและมีความปราบปลื้มใจมาก ถึงแม้ว่าจะมันจะไม่เยอะก็ตาม

การหุงข้าวเหนียว
การหุงต้มข้าวเหนียวจะทำเช่นเดียวกับข้าวสารไม่ได้ เพราะข้าวเหนียวมีความแน่นมากกว่า ในการหุงต้มจึงนำข้าวเหนียวแช่น้ำเสียก่อน ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง หากมีความต้องการที่จะใช้ในเวลารวดเร็วใช้น้ำอุ่นแช่ การนำสารส้มเพียงเล็กน้อยมาใส่ลงในข้าวเหนียวขณะที่แช่ จะช่วยให้ข้าวเหนียวขาวสะอาดขึ้น เราจะเห็นได้ว่าคนภาคอีสานส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานข้าวเหนียวกันมากกว่าข้าวเจ้า เพราะข้าวเหนียวรับประทานแล้วจะรู้สึกอิ่มท้องมากกว่าและอยู่ได้นาน แต่การรับประทานมากเกินไปจะก่อให้เกิดอาการไฟธาตุพิการได้ง่าย ผู้สูงอายุไม่ควรที่จะรับประทานข้าวเหนียวให้มากเพราะจะทำให้ติดคอได้

ข้าวเหนียวสามารถแปรรูปไปเป็นอาหารอื่นได้ ส่วนใหญ่จะทำเป็นขนมมากกว่า เช่นเทศกาลตรุษจีนก็ทำขนมแข่ง เทศกาลออกพรรษาคนในสมัยก่อนก็จะทำข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มผัด ข้าวหลาม ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวนึ่งกินกับส้มตำ หรืออื่นๆ อีกมากมาย

ประโยชน์ของข้าวเหนียว
นอกจากข้าวเหนียวจะมีประโยชน์ทางด้านอาหารแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายด้วย เช่น
บำรุงร่างกาย
ช่วยขับลมในร่างกาย
สร้างสารอาหาร
เสริมสมรรถภาพกระเพาะอาหาร
ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เนียนขึ้น


โดยการนำข้าวสารแช่ให้นุ่มแล้วโดยปั่นในเครื่องปั่น ผสมกับใบตำลึงอ่อน สัดส่วน 1 ต่อ 1 นำมาพอกกับผิวหน้า ผิวกาย ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นช่วยลดริ้วรอย จุดด่างดำ ให้ค่อยๆ จางหายไป ทำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง


ไม่ว่าจะเป็นข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้าก็มีประโยชน์กับร่างกายเหมือนกัน ถ้าเรารู้จักถึงคุณค่าและรู้จักที่จะนำไปแปรรูปให้เกิดประโยชน์ต่อไป

แพทย์แผนไทยระบุว่า ข้าวเป็นสมุนไพรที่ทำให้อายุยืนและกระชุ่มกระชวย ต่อต้านความชรานอกจากนั้นสรรพคุณของข้าวยังมีอีกมาก เช่น การนำข้าวมาต้มหรือคั่วกิน ใช้ประมาณ 30-60 กรัม จะช่วย บำรุงร่างกาย โดยเฉพาะกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้ท้องร่วงและโรคบิด

คนที่รักสุขภาพแนะนำว่า ให้นำต้นอ่อนข้าวเหนียวประมาณ 10-30 กรัม ไปต้มน้ำกิน จะช่วยให้ย่อยอาหาร และช่วยลดเสมหะบรรเทาอาการไอที่ไม่รู้สาเหตุ น้ำข้าว กินได้ตอนอุ่นอุ่นๆ บรรเทาอาการร้อน กระหายน้ำ และสามารถขับปัสสาวะ

น้ำซาวข้าว มีประโยชน์ใสการบรรเทาอาการร้อน ลดอาการกระหายน้ำ เพราะมีความชุ่มเย็น ช่วยรักษาอหิวาตกโรค อาหารที่ไม่ย่อย เพียงดื่ม 1 แก้วผสมกับน้ำอุ่นก็ช่วยได้

คุณค่าของเมล็ดข้าวมีมหาศาล อาทิ
ข้าวสาร ข้าวกล้องหุงสุกกินบำรุงร่างกาย แก้ตามัวฝ้าฟาง เหน็บชา แก้บวม ปวดจากคางทูม
รากข้าว ต้นตอข้าวหลังการเก็บเกี่ยว นำไปต้มน้ำดื่มเป็นยาขับเลือด
รวงข้าว-นมข้าว ข้าวจากรวงที่ยังอ่อน เนื้อในเมล็ดเป็นน้ำสีขาวเหมือนน้ำนม มีรสหวานมันช่วยบำรุงกำลัง ให้ทำเป็นน้ำข้าวยาคู ซึ่งทำโดย ตำเมล็ดข้าวด้วยครกหินคั้นกรองเอาแต่น้ำนมสีขาว ผสมด้วยน้ำนมโคสด ใส่ใบเตยให้หอมกรุ่น เพิ่มน้ำตาลทราย และต้นด้วยไฟแรง 10 นาที จะได้ น้ำยาคูเหมาะสำหรับคนที่โหมงานหนัก ดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น
ข้าวตอก เชื่อว่าเป็นอายุวัฒนะ ทำง่ายๆ โดยนำข้าวเปลือกคั่วให้แตกเป็นดอกบานคลุกด้วยน้ำตาลอ้อยเคี่ยว
ข้าวเหนียวดำ กินแก้ตาฝ้าฟางและสมานแผลในกระเพาะอาหาร
ข้าวเหนียว สมุนไพรเพื่อความงาม ช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใส

แม้ว่าข้าวจะมีประโยชน์มากมาย แต่ถ้าเป็นข้าวที่มีสารพิษเจือปนก็คงจะไม่ดี เพราสารพิษจะให้โทษแก่ร่างกาย ดังนั้นควรจะเลือกซื้อและบริโภคข้าวปลอดสารพิษ จะได้มีสุขภาพดี หุ่นดี

ที่มา: Paang, บอร์ดอกาลิโก, กินข้าวเหนียว ช่วยบำรุงผิวพรรณสร้างสารอาหารให้ร่างกาย, http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=9386

ข้าวเหนียว

ข้าวเหนียว (อังกฤษ: Glutinous rice; ชื่อวิทยาศาสตร์: Oryza sativa var. glutinosa) เป็นข้าวที่มีลักษณะเด่นคือการติดกันเหมือนกาวของเมล็ดข้าวที่สุกแล้ว ปลูกมากทางภาคอีสานของประเทศไทยและ ประเทศลาว

ข้าวเหนียวเป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวางในประเทศ และเป็นอาหารหลักของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ นอกจากการบริโภคโดยตรงแล้วยังมีการนำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราพื้นเมือง การผลิตแป้งข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยว

ข้าวเหนียวมี 2 สี คือ สีขาวและสีดำ(คนเหนือเรียกว่า"ข้าวก่ำ") แต่ข้าวเหนียวดำจะมีสารอาหาร ที่เป็นประโยชน์มากกว่าข้าวเหนียวขาว สารอาหารที่ว่า คือ “โอพีซี"(OPC)มีสรรพคุณช่วยชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อม ถอยของร่างกาย โดยสารโอพีซีที่พบในข้าวเหนียวดำ เป็นสารชนิดเดียวกับสารสกัดที่ได้ จากองุ่นดำองุ่นแดง เปลือกสน

เนื้อหา
1 การค้นพบ
2 พันธุ์และลักษณะเด่น
3 สรรพคุณ
4 สารสำคัญ
5 วิธีนึ่ง
6 อ้างอิง
7 แหล่งข้อมูลอื่น

อาจารย์ สุรัตน์ จงดา สันนิฐานว่า ข้าวยุคแรกที่มนุษย์กิน คือพันธุ์ข้าวเหนียว หลักฐานที่เราค้นพบ เมล็ดข้าวหรือข้าวเปลือก ที่ถ้ำปงคง จ. แม่ฮ่องสอน 5500 ปี และที่บ้านเชียง การค้นพบเมล็ดข้าวที่บ้านเชียง 3000-4000 ปี เป็นข้าวเมล็ดปล้อง สันนิฐานว่าอยู่ในตระกูลข้าวเหนียว

พันธุ์และลักษณะเด่น

พันธุ์สันป่าตอง 1 ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้งดี ให้ผลผลิตสูง สามารถปลูกได้ทั้งปี
พันธุ์สกลนคร เป็นข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง ปรับตัวได้หลายสภาพ นาดอน นาชลประทาน และสภาพไร่นา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พันธุ์หางยี 71 ทนแล้งปลูกเป็นข้าวไร่ได้ อายุเบา ต้านทานโรคไหม้และโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรค ขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว
พันธุ์กข 2 ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียวปานกลาง ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว
พันธุ์กข 4 ปลูกได้ทุกฤดูกาล ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล แมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว ไม่ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง
พันธุ์กข 6 ทนแล้ง ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว
พันธุ์กข 8 ทนแล้ง ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว
สรรพคุณ

เป็นอาหารร่าเริง ทำให้สมองสงบ คลายเครียด กินแล้วจะรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้อิ่มท้องนาน
เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของกระเพาะอาหาร
ชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อม ถอยของร่างกาย[ต้องการอ้างอิง]
ช่วยขับลมในร่างกาย[ต้องการอ้างอิง]
สร้างเม็ดเลือด ทำให้เม็ดเลือดสมบูรณ์ [ต้องการอ้างอิง]
ป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ [ต้องการอ้างอิง]
ป้องกันปัญหาวุ้นนัยน์ตาเสื่อม[ต้องการอ้างอิง]
สารสำคัญ
ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก และวิตามินอี

วิธีนึ่ง
นำข้าวสารเหนียวมาแช่น้ำ (แถวบ้านเรียกว่า หม่าข้าว) เพื่อให้ข้าวอิ่มน้ำใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมงมิเช่นนั้นหากข้าวไม่อิ่มน้ำเวลานึ่งข้าวจะไม่สุก หากเป็นข้าวสารใหม่จะใช้เวลาแช่น้ำ น้อยกว่า
จากนั้นนำมาซาวเอาแต่ข้าว เทน้ำซาวข้าว (น้ำข้าวหม่า) เก็บไว้ใช้ล้างจาน หรือสระผม นำข้าวสารใส่ในหวด ที่วางบนหม้อนึ่ง แล้วนำขึ้นตั้งไฟแรง ปิดฝารอจนไอน้ำผ่านข้าวเหนียวจนเกือบสุก เปิดฝาหม้อแล้วใช้ไม้พายพลิกข้าวส่วนที่ยังไม่สุกกลับลงไปด้านล่างแทนส่วน ที่สุกแล้ว
จากนั้นนำข้าวลงมาเทบนโบม (ภาชนะสำหรับพักและคนข้าวให้ไอน้ำระเหยออกไปเพื่อให้ข้าวเย็นและไม่เปียก ชื้นจากไอน้ำ เพื่อเก็บไว้รับประทานทั้งวันได้ในก่องข้าว หรือกระติ๊บข้าว) นำไม้พายเกลี่ยข้าว พลิกไปมาให้ไอน้ำที่ร้อนระเหยออกไปให้ทั่วถึง พอได้ที่ก็ม้วนข้าวเก็บเอาไว้ในกระติ๊บข้าวเหนียว